
"จงคิดถึงแต่สิ่งที่ควร แล้วเมื่อนั้นก็จะได้สิ่งกำนัลเป็น ความมั่นคง ปัญญา และสันติ" อาจารย์สปลินเตอร์ มิวแตนท์
หนู เคยกล่าวไว้ใน "นินจาเต่า (TEENAGE MUTANT NINJA TURTLES)" ฉบับจอเงินเวอร์ชันแรกเมื่อปี 1990 หนูประหลาดตัวนี้จัดเป็นตัวละครหนูชื่อดังตัวหนึ่งที่คนยุคนี้รู้จักกันดี ในฐานะเป็นทั้งบิดาและอาจารย์ผู้หยั่งรู้ไปหมดของเหล่าเต่านินจายืนยันว่าสิ่งมีชีวิตเล็กๆ สร้างความวุ่นวาย น่ารักและน่ารังเกียจในกรงเลี้ยงหรือซอกหลีบ ยังสามารถเป็นกูรู หรืออะไรก็ได้ หากมันถูกจับไปอยู่ในโลกไร้ความจริงอย่างหนังการ์ตูน หรือโลกภาพยนตร์
ในวาระดิถีศักราชนี้ตรงกับปีชวด เพื่อต้อนรับปีแรกของขวบนักษัตรวงล่าสุด จึงขอรวบรวมเหล่าหนูสุดสเปชียลมานำเสนอ ซึ่งทุกตัวล้วนไม่ธรรมดา และใหญ่มาก จนโลกต้องจดจำพวกมัน นับตั้งแต่วันที่ปรากฎตัว หรือไม่ว่าจะตรงกับปีชวดหรือไม่ชวดก็ตาม
MICKEY MOUSE / Steamboat Willie
ตัวการ์ตูนหนูชื่อดังที่ชาวโลกรู้จักกันมากที่สุด และเป็นโลโกของบริษัทบันเทิงเจ้าใหญ่แห่งหนึ่งในยุคนี้ วอลต์ ดิสนีย์ สร้างสรรค์มิคกี้ เมาส์ ร่วมกับอับ ไอร์เวิร์ก โดยดัดแปลงจากตัวการ์ตูนกระต่ายชื่อ "ออสวาลด์" ของสองคนปรากฎครั้งแรกในรอบฉายทดสอบผู้ชมในการ์ตูนสั้น Plane Crazy เมื่อเดือนพฤษภาคม 1928 แต่ดิสนีย์ก็ยังไม่นำออกโชว์ เพราะกระแส "หนังพูดได้" กำลังมา เขาเลยเปลี่ยนใจนำมันมาเป็นตัวละครเอกใน Steamboat Willie และนำออกฉายแก่ผู้ชมวงกว้างในปีเดียวกัน ในฐานะหนังการ์ตูนพูดได้เรื่องแรกของดิสนีย์ โดยผู้ให้เสียงเป็นมิคกิ้ ซึ่งมีบทพูดน้อยมาก ก็คือตัวดิสนีย์เอง
TRIO OF MICE / Babe
เพลงประกอบของหนังว่าด้วย "หมูเลี้ยงแกะ" เมื่อปี 1995เรื่องนี้ ไนเจล เวสเลค คนทำดนตรีประกอบ เลือกที่จะนำเพลงคลาสสิกจากศตวรรษที่ 19 มาใช้ รวมทั้ง 'If I Had Words'ที่ร้องโดยคณะคอรัสหนูสามตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เล่าเรื่อง-สร้างอารมณ์ร่วมด้วยเสียงเพลงของพวกมันในหนังอยู่เป็นระยะ โดยเพลงนี้เดิมเป็นของ สก็อต์ ฟิสเจอรัลด์ (ร้องคู่กับ อีวอนน์ คีลีย์)เมื่อปี 1978 นำมาจากเพลงคลาสสิกโอเปราฝรั่งเศสของ Camille Saint-Saens มาเติมรสแร็กเกลงไป ส่วนฉบับในหนังกับเสียงหนู ใช้วิธีนำต้นฉบับมาเร่งสปีด และถูกนำมาใช้อีกครั้งในภาคต่อ Babe Pig in the City เพราะมันคือเพลงธีมของเรื่อง
TEMPLETON / Charlotte's Web
เจ้าหนูตัวนี้มาจากวรรณกรรมเยาวชนเก่าแก่-ชื่อดังของ เอ.บี.ไวท์ เมื่อปี 1952 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ "เมงมุมเพื่อนรัก" กลายเป็นหนังการ์ตูนครั้งแรกในปี 1973 ก่อนจะเป็นฉบับหนังคนเป็นๆ แสดงกับชีจีในปี 2006 ที่ได้ดาราหน้าคล้ายหนูอย่าง สตีฟ บุสเซมิ มาให้เสียงเจ้าเทมเปิลตันมีส่วนสำคัญในการช่วยชีวิตหมูน้อยในโรงนา ไม่ให้ถูกเชือดตามแผนปั้น "หมูมหัศจรรย์" ของแมงใจดีตามชื่อเรื่อง แต่สำหรับเทมเปิ้ลตัน ทุกครั้งที่ต้องร่วมมือ มันต้องได้ผลประโยชน์ตอบแทนอยู่เสมอ ซึ่งก็คือเศษอาหาร เพราะสำหรับหนูสักตัวจะมีอะไรสำคัญไปกว่าความตะกละ
MISS BIANCA AND BERNARD / The Rescuers
ในขณะที่โลกมีสหประชาชาติไว้ดูแลความเป็นธรรม-เท่าเทียมของโลกนี้ ในโลกของหนู ก็มีอะไรคล้ายกัน ภาย
ใต้ชื่อ Rescue Aid Society หรือสมาคมหน่วยพิทักษ์ซึ่งมีหนูนานาชาติ มาร่วมประชุมกันเพื่อแก้ไขปัญหานานาโดย
ในกรณีนี้จากหนังการ์ตูนของ วอลต์ ดิสนีย์ เมื่อปี 1977"คุณบิอังกา" กับ "เบอร์นาร์ด" สมาชิกหนูสาวไฮโช กับภารโรง ต้องออกสืบเสาะตามข้อความขอความช่วยเหลือที่เด็กกำพร้าส่งมาในขวดแล้วปล่อยมาตามน้ำ บ้านเรารู้จักในชื่อ "หนูหริ่งหนูหรั่งผจญภัย" และเป็นหนังการ์ตูนเรื่องแรกของดิสนีย์ที่มีภาคต่อตามมาโดยออกฉายในปี 1990 ในชื่อThe Rescuers Down Under
TIMOTHY / Dumbo
หนังการ์ตูนยาวเรื่องที่ 4 เมื่อปี 1941 ของ วอลต์ดิสนีย์ แต่เป็นหนังที่สั้นที่สุดของค่ายนี้ คือแค่ 64 นาที ดัดแปลงจากหนังสือภาพ โดย เฮเลน เอเบอร์สัน กับฮาโรลด์ เพิร์ล และวาดโดย เฮเลน เตอร์นีย์ เจ้า "ทิโมที"เป็นหนู รวมทั้งเพื่อนคนเดียวของ "ดัมโบ้" ในคณะละครสัตว์ ดาวตลก เอ็ดเวิร์ด โบรฟี เป็นผู้พากย์ โดยมักเป็นถ้อยความสร้างแรงบันดาลใจ-กำลังใจให้กับช้างน้อยแต่บินได้ที่ต้องพลัดพรากจากแม่ เมื่อไม่นานมานี้เพิ่งถูกนำมารีเมกในฉบับคนแสดงกับชีจี และเจ้า
ทิโมที่ ก็ยังกลับมาเกิดเป็นหนูอีกครั้ง แต่พูดคำคมๆไม่ได้ เพราะเป็นหนูซีจีทำหน้าที่เป็นหนูจริงๆ ไม่เหมือนในฉบับการ์ตูนดั้งเดิม
FIEVEL / An American Tail
หนังการ์ตูนของวอร์เนอร์ บราเทอร์ส เมื่อปี 1986 สตีเวน สปีลเบิร์ก สร้างร่วมกับ ดอน บลูท อดีตผู้กำกับ-แนิเมเตอร์มือดีจากค่าย วอลต์ ดิสนีย์ ที่ออกจากต้นสังกัดแล้วหันมาทำสตูดิโอเอง และประสบความสำเร็จด้วยเรื่องนี้ เล่าเรื่องของหนูน้อย "ฟีเวล"หนูยูเครนยุคสงครามเย็นที่อพยพจากบ้านเกิดมาสู่อเมริกา เพื่อหวังจะมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่กลับต้องพลัดหลงกับครอบครัว เป็นสไตล์แบบดิสนีย์ชัด ด้วยเพลงเพราะมากมาย แต่นที่ทำให้หนูน้อยเป็นที่จดจำ คือตอนมันร้อง Somewhere Out There โดยเพลงนี้ในฉบับเครดิตท้ายเรื่อง ที่ ลินดา รอนสแตดท์ ร้องคู่กับ เจมส์ อินแกรม ยังได้รางวัลแกรมมีอีกด้วย
BASIL AND DOCTOR DAVID / The Great Mouse Detective
หนังการ์ตูนเมื่อปี 1986 ของ วอลด์ ดิสนีย์ นำวรรณกรรมเยาวชนชุด Basil at Baker Street ของ อีฟ ติตัส นักเขียน
อเมริกัน ซึ่งนำ เชอร์ล็อค โฮมส์ ของท่านเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ มาดัดแปลง โดย "เบซิล กับ "ดอกเตอร์เดวิด" หรือ
โฮล์มกับคุณหมอวัตสันเวอร์ชันหนู ต้องมาไขคดีนักประดิษฐ์ของเล่นที่ถูกค้างคาวลักพาตัวไป ได้รับคำชมจากนักวิจารณ์
ในยุคนั้นว่าดีงามกว่าการ์ตูนดิสนีย์หลายเรื่องก่อนหน้า และเมื่อนำกลับมาฉายใหม่ในปี 1992 ในชื่อ The Adventures of the Great Mouse Detective ก็ยังทำรายได้ในอเมริกาไปเกือบเท่าทุนสร้าง คือ 14 ล้านเหรียญ
JERRY / Tom & .Jerry
ทดลองเล่นบาคาร่าออนไลน์ฟรี
การวิ่งไล่จับที่ระบือลือลั่นคู่หนึ่งของโลก คือการไล่กันระหว่าง เหมียว "ทอม" กับเจ้าหนู "เจอร์รี" แห่ง Tom & Jerry การ์ตูนสั้นของ วิลเลียม แฮนนา กับโจเซฟ บาร์เบรา สองตัวเริ่มไล่จับกันครั้งแรกในปี 1940 ก่อนจะไล่ล่ากันมาเรื่อยอยู่ในการ์ตูนสั้นที่นำออกฉายปะหัวหนังของสตูดีโอเอ็มจีเอ็มในโรงอีกกว่า 160 เรื่อง จนกระทั่งกลายมาเป็นของ วอร์นอร์บราเทอร์ส ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีรายกายทีวีเป็นของตัวเอง ได้ออสการ์การ์ตูนสั้นมาแล้ว 7 ตัว รวมทั้งเคยเป็นหนูบนจอยักษ์ในหนังจอเงินครั้งแรกในปี 1992 แต่ล้มเหลวทั้งคำวิจารณ์และรายได้ เพราะผู้สร้างดันให้มันพูดกับทอมรู้เรื่องเป็นครั้งแรก
RIZZO THE RAT / The Muppet Show
"ริซโซ" เชิดและสร้างโดย สตีฟ วิทไมร์ เป็นตัวละครในคณะ "หุ่นมหาสนุก" หรือ The Muppet Show รายการที่วีชื่อดัง (1976-1982) ของจิม เฮนสัน โดยในแต่ละตอนจะเป็นโชว์ต่างๆ จากโรงละครของเหล่า "มัพเพ็ต" ซึ่งมีเจ้ากบ "เคอร์มิต" เป็นพิธีกร ส่วนริชโซ ไม่ใช่ดาวเด่น ไม่ว่าจะเป็นสารรูปหรือความสามารถ แต่มันก็มีโขว์เป็นของตัวเองที่มักปล่อยมุขเจ็บๆ ให้ได้อมยิ้มอยู่เสมอ รวมทั้งยังเคยได้บทเด่นในฉบับจอเงินของหุ่นมหาสนุกในตอน The Muppet Christmas Carol เมื่อปี 1992 อีกด้วย ส่วนข้อมูลอื่นๆ จากบางแหล่งบอกว่า มันมีพี่น้องทั้งหมด 1,274 ตัว
REMY / Ratatouille
สำหรับหนูสักตัว ห้องครัวคือสวรรค์ของพวกมัน แต่สำหรับเจ้า '"เรมี" ห้องครัวไม่ใช่แค่นั้น นอกจากสวรรค์ยังเป็นความฝันของหนูด้วย เพราะมันอยากเป็นสุดยอดเซฟ และนี่ก็คือพล็อตหนังการ์ตูนชื่อดังมีชื่อเป็นเมนูฝรั่งเศสของพิชาร์เมื่อปี 2007 ประ สบความสำเรจทั้งรายได้ และคำวิจารณ์ ได้ออสการ์หนังการ์ตูนเยี่ยมของปีนั้น รวมทั้งได้รับการยกย่องจากโพลของบีบีซีเมื่อปี 2016 ให้เป็น 1 ใน 100 เรื่องหนังเยี่ยมแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งโหวตโดยนักวิจารณ์หลากหลายชาติ ส่วนชื่อหนังและดีไซน์แคแรกเตอร์ของเจ้าหนูเรมี ทีมงานนำมาจากรูปหนูบนฉลากไวน์ฝรั่งเศสชื่อเดียวกันกับหนัง
SPEEDY / GONZALES
ตัวการ์ตูนจากค่ายวอร์เนอร์ บราเทอร์สเจ้าของฉายา "หนูที่เร็วที่สุดในเม็กชิโก" ตามพื้นเพกำเนิดและสำเนียงปะกิดแปร่งๆ แบบสเปนนิชของมันที่พากย์โดย เมล บลัง ปรากฎตัวครั้งแรกใน Cat-Tails for Two ในปี1953 แต่ยังไม่ได้มีรูปลักษณ์แบบนี้ ก่อนจะถูกพัฒนาเป็นตัวละครจริงจังขึ้นมาในปี 1955ใน Speedy Gonzales ที่มันต้องใช้ความเร็ววิ่งหนีเจ้าเหมียวซิลเวสเตอร์ อยู่ในโรงงานชีสแถวชายแดนอเมริกา-เม็กชิโก และนับแต่นั้นผู้ชมก็ได้ติดตากับภาพหนูจังโกวิ่งปรูดปร๊าดไปมา พร้อมเสียงร้องคุ้นหูว่า "อันดาเล!อันดาเล! อาร์ริบา! อีปา! อีปา! อีปา!... ยาฮู้!"..อยู่ในหนังการ์ตูนต่อมาอีกกว่า 40 เรื่อง
MIGHTY MOUSE
"เจ้าหนูจอมพลัง" หรือ Mighty Mouse ผู้มีพลังครือกันกับซูเปอร์แมนแทบทุกอย่าง แต่จริงๆ เดิมที่ อิซซี ไคลน์ ต้นไอเดียไม่ได้ตั้งใจจะให้มันเป็นหนู เขาตั้งใจล้อซูเปอร์แมน ด้วย "ซูเปอร์ฟลาย" หรือแมลงวันจอมพลัง แต่พอล เทอร์รี่ แห่งเทอร์รีตูน สตูดิโอ เห็นว่าไม่เวิร์ก มันเลยได้ปรากฎตัวครั้งแรกในโรงฯเมื่อปี 1942 ใน The Mouse of Tomorrow แล้วก็ถูกเรียกว่า"ซูเปอร์เมาส์" กับทุกตอนที่ออกฉายไปกับหนังของทเวนตีเซ็นจูรีฟ็อกซ์ จนถึงปี 1944 จึงเปลี่ยนเป็นนามนี้อย่างที่รู้จักกัน จัดเป็นตัวการ์ตูนดังที่สุดของเทอร์รีตูนส์ เพราะเคยเป็นทีวีโปรแกรมให้เด็กๆ ได้ดูกันอยู่นานถึง 12 ปี
|